ขั้นตอนในการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ

การจัดนิทรรศการนั้น นับได้ว่ามีการจัดกันมาเป็นเวลานานแล้วตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่หามาได้มาวางจัดแสดงให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเพื่อการแลกเปลี่ยน การอวด การซื้อขาย หรือเพื่อจุดประสงค์ใดก็ตาม จากนั้นจึงค่อย ๆ พัฒนารูปแบบการจัดแสดงดังกล่าวให้น่าดูน่าสนใจ เช่น มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนการจัดแสดง มีการแยกหมวดหมู่ให้ง่ายแก่การรับรู้ จดจำ และทำความเข้าใจ มีการจัดสถานที่ด้วยแสงสีเสียงเพื่อสร้างบรรยากาศ ตลอดจนต้องมีการออกแบบ วางแผน ในการจัดแต่ละครั้งให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ จำเป็นต้องมีการวางแผนงาน เตรียมการ ดำเนินการ และวัดผลประเมินผลจนครบวงจร ซึ่งมีขั้นตอนการจัดนิทรรศการศิลปะโดยทั่วไป ดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด นั่นคือการเขียนโครงการจัดนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยหลักการและเหตุผล (ประโยชน์และความจำเป็น) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ขั้นตอนการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ การวัดผลประเมินผลและผลที่คาดว่าจะได้รับ (เมื่อสิ้นสุดโครงการ)
2. การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดนิทรรศการ โดยมีตำแหน่งประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายสถานที่ พิธีการ ต้อนรับ การเงิน ประชาสัมพันธ์ โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
3. การเตรียมผลงานศิลปะ หรือการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเตรียมจัดแสดง รวมทั้งการติดการ์ด หรือใส่กรอบผลงาน
4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนไปร่วมชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบของการจัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ บัตรเชิญ ป้ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อมวลชน
5. การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ เป็นการจัดเตรียมสถานที่ แสง เสียง บอร์ดแสดงผลงาน ไม้ประดับ โต๊ะ เก้าอี้ ริบบิ้นเปิดงาน สมุดเซ็นเยี่ยม และวัสดุอุปกรณ์ อื่นๆ
6. การจัดงานและพิธีการ เป็นการจัดกำหนดการพิธีการ และดำเนินการเปิดงานแสดงนิทรรศการ เช่น จัดทำ กำหนดการ คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิดการนำชม การแสดงและการสาธิตผลงาน เป็นต้น
7. การวัดผลประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายที่ต้องการทราบผลการจัดนิทรรศการว่าบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการหรือไม่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม จากสมุดเยี่ยมชม และจากที่ประชุมของคณะกรรมการ

สื่อแสดงผลงานศิลปินที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชม

การจัดนิทรรศการเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับมนุษยชาติ

แต่ในยุคแรกเริ่มอาจจะยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอนแต่อย่างใด อาจเป็นเพียงการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ไว้ในที่ที่เคยวางเป็นประจำ การวาดภาพตามผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ การนำสินค้ามาจัดแสดงเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย ดังนั้นการนำเสนอประวัติของนิทรรศการจึงประกอบด้วยรายละเอียดตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการจัดนิทรรศการจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ นิทรรศการที่ดีจะมีอิทธิพลต่อผู้ชมในด้านความรู้ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอารมณ์และความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงเจตคติ รวมทั้งการตัดสินใจดังจะเห็นได้จากตัวอย่างนิทรรศการทางการศึกษา ทางการค้าและทางศิลปวัฒนธรรม

การจัดแสดงผลงาน เป็นวิธีการเผยแพร่ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สื่อในการเผยแพร่ที่เหมาะสมจะทำให้บุคคลเป้าหมายสามารถเข้าถึงผลงานต้นแบบ หรือข้อมูลแสดงรายละเอียดของผลงานได้ง่าย บุคคลเป้าหมายนี้นอกเหนือจาก นิสิต คณาจารย์ บุคลากร หรือผู้เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว ยังได้แก่สาธารณชนในวงกว้างเพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับ โดยเป็นการจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นการรวบรวมผลงาน และการเลือกสื่อในการเผยแพร่ เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเผยแพร่ผลงาน การเผยแพร่โดยใช้สื่ออินเตอร์เน็ตนับเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเผยแพร่ในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นต่อบุคคลเป้าหมายถึงผู้สนใจทั่วไป

การให้ความรู้และดึงดูดให้ผู้อื่นสนใจในงานจัดแสดงผลงาน

1) ผลงานที่จัดแสดงต้องเป็นงานที่ทำในปีนี้เท่านั้น
2) ชื่อโครงงานที่ดี ชื่อโครงงานมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดึงดูดความสนใจควรบ่งบอกถึงงานวิจัยของผู้พัฒนาอย่างถูกต้องและเรียบง่าย อีกทั้งดึงดูดให้ผู้อื่นต้องการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับโครงงานของท่าน
3) รูปถ่าย หลายโครงงานมีอุปกรณ์บางส่วนที่ไม่อาจจัดแสดงในงานได้อย่างปลอดภัย ผู้พัฒนาอาจถ่ายภาพส่วนสำคัญของการทดลองเพื่อใช้ในการจัดแสดง
4) เป็นระเบียบ การจัดแสดงผลงานควรเรียงลำดับอย่างมีเหตุผลและอ่านง่าย ผู้ชมควรสามารถเห็นชื่อโครงงาน การทดลอง ผลการทดลอง และสรุปผลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เมื่อจัดเตรียมบอร์ดควรจินตนาการว่าเราเห็นบอร์ดเป็นครั้งแรก
5) ดึงดูดสายตา จัดบอร์ดให้โดดเด่น ใช้หัวเรื่อง แผนภูมิและกราฟที่ประณีตและมีสีสันเพื่อจัดแสดงโครงงาน อุปกรณ์ที่ทำเองภายในบ้าน กระดาษจัดบอร์ดและเครื่องเขียนที่มีสีสันช่วยในการจัดแสดงโครงงาน เอาใจใส่เป็นพิเศษในการระบุชื่อและอ้างอิงกราฟ แผนภูมิและตาราง ผู้ชมควรสามารถเข้าใจสิ่งที่จัดแสดงโดยไม่ต้องอาศัยคำอธิบายเพิ่มเติม
6) การเอาใจใส่เป็นพิเศษในการระบุชื่อและอ้างอิงกราฟ/แผนภูมิ/ตาราง เอกสารใดที่อ้างอิงมาจากที่อื่นต้องมีการอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน ในกรณีที่มีภาพถ่ายบุคคลอื่นหรือรูปภาพนอกเหนือจากผู้พัฒนา ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

การจัดแสดงผลงานนิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดี เนื่องจากความหลากหลายของสื่อสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ชมได้ ดังนั้นนิทรรศการที่ดีจะมีอิทธิพลต่อผู้ชมในด้านความรู้ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอารมณ์และความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงเจตคติ รวมทั้งการตัดสินใจดังจะเห็นได้จากตัวอย่างนิทรรศการทางการศึกษา ทางการค้าและทางศิลปวัฒนธรรม