แนวโน้มการขึ้นราคาของวัตถุดิบของธุรกิจโรงกลึง

แนวโน้มการขึ้นราคาของวัตถุดิบและขาดแคลนผู้ผลิตวัตถุดิบ เพราะหากราคาของวัตถุดิบเพิ่ม สูงขึ้น จะทำ ให้ความสามารถในการทำ กำ ไรของบริษัทลดลง อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความผันผวนของราคา วัตถุดิบ กิจการควรมีการดำ เนินนโยบายในการซื้อวัตถุดิบล่วงหน้า โดยใช้ข้อมูลราคาวัตถุดิบแต่ละชนิดรายวันจาก ผู้จัดจำหน่าย ประกอบกับภาวะตลาดแนวโน้มราคา จำนวนวัตถุดิบที่เหลืออยู่ และปริมาณงานที่มีอยู่ ก่อนทำ การ สั่งซื้อวัตถุดิบ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องใช้นโยบายในการไม่ผูกขาดกับผู้ผลิตหรือจำ หน่ายวัตถุดิบ เพียงรายใดรายหนึ่ง และเลือกสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้ผลิตที่มีความมั่นคง และมีความสามารถในการดำ เนินธุรกิจทั้ง ในด้านการส่งมอบ คุณภาพวัตถุดิบ ราคา และเครดิตเทอม เป็นต้น ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มโลหะ (Metals) ในปี 2560 อาจจะกลับมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 1.7 จากในปี 2559 ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 7.5 จากปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่ราคามีแนวโน้มปรับขึ้น ได้แก่ สังกะสี (Zinc) นิกเกิล (Nickel) ดีบุก (Tin) อะลูมิเนียม ขณะที่ราคากลุ่มเหล็ก (Iron Ore) อาจยังอยู่ในช่วงขาลงตาม สถานการณ์ผลผลิตส่วนเกินที่ยังมีอยู่ในตลาดโลก โดยเฉพาะจากผู้ผลิตหลักคือจีน

การพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ โรงกลึงส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างการผลิตที่มักจะเป็นลูกค้าประจำ

รายใหญ่ เพียงไม่กี่ราย หากลูกค้าเหล่านี้ยกเลิก หรือลดปริมาณการว่าจ้างลงอย่างมีนัยสำคัญ ย่อมส่งผลกระทบต่อ ผลประกอบการของกิจการอย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้ประกอบการพึงต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าราย ดังกล่าวด้วยการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบตรงตามกำหนดเวลา ตลอดจนการบริการทั้งก่อนและหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ และเร่งเพิ่มฐาน ลูกค้าในหลากหลายกลุ่มให้มากขึ้นด้วย ทิศทางของนโยบายภาครัฐ ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ “Thailand 4.0” อันเป็น นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบ “Value-Added Economy” ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (แทนที่จะเป็นสินค้าแบบ Commodity) เน้นเทคโนโลยี (แทนที่จะเป็นอุตสาหกรรม) และเน้นการบริการ (มากกว่าขายสินค้า) โดยรัฐมี เป้าหมายหลักอยู่ที่ 10 อุตสาหกรรม ซึ่งประเทศไทยมีองค์ความรู้ และศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดได้ เป็นกลไก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต จึงเป็นไปได้ว่า โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศน่าจะต้องมีการปฏิรูปจากเดิม ที่เป็นการผลิตโดยใช้แรงงาน เครื่องจักรและทรัพยากร ต้องเปลี่ยนเป็นการผลิตบนฐานความรู้และเทคโนโลยี (Technology Base) ที่คาดว่า จะส่งผลต่อทิศทางการดำ เนินงานของโรงกลึงในอนาคตพอสมควร โดยอาจจะ ต้องเร่งปรับตัวและนำ เทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาช่วยงานในการผลิตให้มากขึ้นในลักษณะที่สมดุลกับกำ ลังการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.โรงกลึงซีเอ็นซี.com